วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2561

เซปักตะกร้อ

   

 ประวัติตะกร้อไทย ประวัติเซปักตะกร้อ ความเป็นมาตะกร้อ


ประวัติตะกร้อ
  ประวัติตะกร้อ ประวัติตะกร้อไทย | ประวัติตะกร้อไทย สามารถอ้างอิงกีฬาชนิดนี้ได้จากภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดพระแก้ว กรุงเทพฯ ซึ่งสร้างตั้งแต่ปี ค.ศ. 1785 ซึ่งภาพศิลปะเรื่องรามเกียรติ์ มีภาพการเล่นตะกร้อแสดงไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้ เป็นภาพ หนุมานกำลังเล่นเซปัก ตะกร้อ อยู่ท่ามกลางกองทัพลิง นอกเหนือจากหลักฐานภาพจิตรกรรมดังกล่าว ยังมีบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงกีฬาชนิดนี้ คือ
  • พ.ศ. 2133-2149 | ค.ศ. 1590-1606 ในยุคของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ประเทศไทย เดิมชื่อ ประเทศสยาม มี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ และมีกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวง คนไทยหรือคนสยาม มีการเริ่มเล่นตะกร้อที่ทำด้วย หวาย ซึ่งเป็นการเล่น ตะกร้อวง
  • พ.ศ. 2199-2231 | ค.ศ. 1656-1688 มีหลักฐานพอจะอ้างอิงได้ว่า ในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในยุคสมัย กรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองหลวง มีคณะสอนศาสนาชาว ฝรั่งเศส มาพำนักในกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2205 มีการสร้างวัดนักบุญยอเซฟ นิกายโรมันคาทอริก ซึ่งมีบันทึกของ บาทหลวง เดรียง โลเนย์ ว่าชาวสยามชอบเล่นตะกร้อกันมาก
  • พ.ศ. 2315 | ค.ศ. 1771 เป็นช่วงหมดยุค กรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นตอนต้นแห่งยุคสมัย กรุงธนบุรี เป็นเมืองหลวง ได้มีชาวฝรั่งเศสชื่อ นายฟรังซัว อังรี ตุระแปง ได้บันทึกในหนังสือชื่อ HISTOIRE DU ROYAUME DE SIAM พิมพ์ที่ กรุงปารีส ระบุว่า ชาวสยามชอบเล่นตะกร้อในยามว่างเพื่อออกกำลังกาย
  • พ.ศ. 2395 | ค.ศ. 1850 ในยุค กรุงรัตนโกสินทร์ หรือ กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวง ยังมีข้ออ้างอิงในหนังสือ ชื่อ NARATIVE OF A FESIDENCE IN SIAM ของชาวอังกฤษชื่อ นายเฟรเดอริค อาร์ เซอร์นีล ระบุว่ามีการเล่นตะกร้อในประเทศสยาม
    การเล่นตะกร้อ ของคนไทยหรือคนสยาม มีหลักฐานอ้างอิงค่อนข้างจะชัดเจนว่ามีการเล่นกันมานานแล้ว ตั้งแต่ยุคสมัย กรุงศรีอยุธยา เป็น เมืองหลวง พยานหลักฐานสำคัญที่จะยืนยันหรืออ้างอิงได้ดีที่สุด น่าจะเป็นบทกวีในวรรณคดีต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัยที่ร้อยถ้อยความเกี่ยวพันถึงตะกร้อ ไว้ เช่น
– พ.ศ. 2276-2301 | ค.ศ. 1733-1758 ในยุคสมัย พระเจ้าบรมโกศ ครองกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นยุคที่วรรณคดีหรือวัฒนธรรมด้านอักษรศาสตร์เฟื่องฟู ก็มีกวีหลายบทเกี่ยวพันถึงตะกร้อ
– พ.ศ. 2352-2366 | ค.ศ. 1809-1823 เป็นยุคตอนต้นของ กรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพมหานคร) เป็นเมืองหลวง สมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในพระราชนิพนธ์ร้อยกรองของวรรณคดีเรื่อง อิเหนา และเรื่องสังข์ทอง มีบทความร้อยถ้อยความเกี่ยวพันถึง ตะกร้อ ด้วย
– พ.ศ. 2366-2394 | ค.ศ. 1823-1851 ในยุคสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเมืองหลวง สมัย สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ในบทกวีของ สุทรภู่กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เขียนบทกวี นิราศเมืองสุพรรณ ในปี พ.ศ. 2384 (ค.ศ. 1841) มีร้อยถ้อยความเกี่ยวพันถึง ตะกร้อ ไว้เช่นกัน
  • พ.ศ. 2468-2477 | ค.ศ. 1925-1934 ในยุคสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเมืองหลวง สมัย สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ (รัชกาลที่ 7) ได้มีการปรับปรุงหรือดัดแปลงการเล่นตะกร้อขึ้นหลายรูปแบบ ซึ่งมี ตะกร้อลอดห่วง,  ตะกร้อข้ามตาข่าย,  ตะกร้อชิงธง,  ตะกร้อพลิกแพลง และ การติดตะกร้อตามร่างกาย
  • พ.ศ. 2470 | ค.ศ. 1927 โดย หลวงมงคลแมน ชื่อเดิม นายสังข์ บูรณะศิริ เป็นผู้ริเริ่มวิธีการเล่น ตะกร้อลอดห่วง และเป็นผู้คิดประดิษฐ์ ห่วงชัยตะกร้อ ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเดิมห่วงชัยตะกร้อ เรียงติดกันลงมา มี 3 ห่วง แต่ละห่วงมีความกว้างไม่เท่ากัน กล่าวคือ ห่วงบนเป็นห่วงเล็ก, ห่วงกลางจะกว้างกว่าห่วงบน และห่วงล่างสุดมีความกว้างกว่าทุกห่วง เรียกว่า “ห่วงใหญ่” ต่อมาได้มีการปรับปรุง-เปลี่ยนแปลง รูปทรงของห่วงชัยเป็น “สามเส้าติดกัน” โดยทั้ง 3 ห่วง (สามด้าน) มีความกว้างเท่ากัน ดังที่ใช้ทำการแข่งขันในปัจจุบันในช่วงปี พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) คนสยามหรือคนไทย มีความชื่นชอบกีฬาตะกร้อกันอย่างแพร่หลายขึ้น เพราะตามเทศกาลงานวัดต่าง ๆ ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น วัดสระเกศ (ภูเขาทอง), วัดโพธิ์ท่าเตียน, วัดอินทรวิหาร (บางขุนพรหม) ได้เชิญ หม่องปาหยิน ไปแสดงโชว์การติดลูกตะกร้อตามร่างกาย 
    ประวัติตะกร้อในประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เซปักตะกร้อ

      ประวัติตะกร้อไทย ประวัติเซปักตะกร้อ ความเป็นมาตะกร้อ   ประวัติตะกร้อ ประวัติตะกร้อไทย | ประวัติตะกร้อไทย สามารถอ้างอิงกีฬาชนิ...